ภาพรวมการพัฒนาสู่ความยั่งยืน

การประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน

    บริษัทฯ ได้พิจารณาและกำหนดประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนของบริษัทฯ (Materiality Topic) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานด้านความยั่งยืนให้สอดคล้องกับความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม โดยบริษัทฯ มีการวิเคราะห์กลุ่มที่เป็นผู้มีส่วนได้เสีย รวบรวมความคาดหวัง และความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่ม และนำมาใช้ประเมินและจัดลำดับความสำคัญของประเด็นเหล่านั้น โดยมีประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนของบริษัทฯ สำหรับปี 2566 ดังนี้
บรรษัทภิบาล

1. การเติบโตของธุรกิจ
2. การกำกับดูแลกิจการ
3. การบริหารความเสี่ยง
4. การบริหารจัดการห่วงโซ่คุณค่า
5. การบริการด้วยคุณภาพ ตามมาตรฐานและข้อกำหนดลูกค้า

สังคม

6. การพัฒนาและดูแลพนักงาน
7. การจัดการด้านอาชีวอนามัยและ ความปลอดภัย
8. ความรับผิดชอบต่อสังคมชุมชน
9. สิทธิมนุษยชน

สิ่งแวดล้อม

10. การบริหารจัดการและการใช้ ทรัพยากร
11. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

กระบวนการระบุประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน

1. การระบุประเด็น

    บริษัทฯ พิจารณาคัดเลือกประเด็นด้านความยั่งยืนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยพิจารณาจากปัจจัยภายใน (กลยุทธ์ นโยบาย เป้าหมาย ความเสี่ยง) และปัจจัยภายนอก (ผู้มีส่วนได้เสีย) โดยมุ่งเน้นถึงความสำคัญความคาดหวังและความต้องการที่อาจส่งผลกระทบต่อความยั่งยืนของบริษัทฯ ในด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และบรรษัทภิบาล

2. การกำหนดขอบเขต

    การกำาหนดขอบเขตในแต่ละประเด็นความยั่งยืนพิจารณาจากผลกระทบจากการดำาเนินงานตั้งแต่ต้นน้ำไปยังปลายน้ำ (ห่วงโซ่อุปทาน) ทั้งระบบ

3. การจัดลำดับประเด็นที่สำคัญ

    พิจารณาระดับความสำคัญของประเด็นที่คัดเลือกจากองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง โดยประเด็นด้านความยั่งยืนที่มีนัยสำคัญต่อบริษัทฯ และผู้มีส่วนได้เสีย จะได้รับการจัดลำดับความสำคัญ 2 หลักเกณฑ์ คือ แกนนอน : ความสำคัญต่อบริษัทฯ และ แกนตั้ง : ความสำคัญต่อผู้มีส่วนได้เสีย